ระบบสายล่อฟ้า (Lightning System)

ระบบสายล่อฟ้า หรือ ระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า (Lightning Protection System : LPS) เป็นระบบที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยลดความเสียหาย จากเหตุการณ์ฟ้าผ่าที่อาจเกิดกับโครงสร้างของอาคาร รวมไปถึงชีวิตและทรัพย์สินที่อยู่ภายในและบริเวณโดยรอบอาคารนั้นๆ หากไม่ได้มีการติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าให้เป็นไปตามมาตรฐานหรือขาดการตรวจสอบบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะได้รับความเสียหายจากปรากฏการณ์ฟ้าผ่าได้
ระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าที่มีมาตรฐานรองรับจะมี 2 แบบ ดังนี้
1.ระบบป้องกันฟ้าผ่าแบบ Faraday Cage (แบบฟาราเดย์) มาตรฐานที่รองรับ วสท. IEC 62305, NFPA 780
2.ระบบป้องกันฟ้าแบบ Early Streamer Emission (ESE) มาตรฐานที่รองรับ NFC17-102

หัวล่อฟ้า LPI แบบ Early Streamer Emission (ESE) และ Conventional มีมาตรฐานต่างๆ เช่น NFC17-102, IEC 62305, IEC 62561 และ AS/NZS 1768 ได้รับการทดสอบใน High Voltage Laboratory พร้อมทั้ง Certificate และ Test Report ตามมาตรฐานต่างๆ ภายหลังการติดตั้ง "สายล่อฟ้า" สามารถตรวจเช็คการทำงานของอุปกรณ์ได้จาก ESE Stormaster Tester และ Lighting Counter Tester ของ LPI เช่นเดียวกัน

เพื่อความมั่นใจให้กับทางลูกค้า ทางบริษัทยินดีมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้กับทุกๆ โครงการที่ได้รับการติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าในวงเงิน 10-50 ล้านบาท


ระบบป้องกันฟ้าผ่า (สายล่อฟ้า) LPI แบบ Faraday Cage หรือแบบฟาราเดย์

ระบบป้องกันฟ้าผ่าแบบ Faraday Cage หรือแบบฟาราเดย์ สามารถอ้างอิงการออกแบบได้ตามมาตรฐาน วสท. 2009-59, IEC 62305-3, NFPA 780 และ ITU K.112 ซึ่งตามมาตรฐานเหล่านี้มีหลายแนวทางในการออกแบบและติดตั้งระบบสายล่อฟ้าแบบ ฟาราเดย์ อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่าสมัยใหม่มีรูปแบและวัสดุให้เลือกใช้ที่หลากหลาย นอกจากการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่าที่ได้มาตรฐานแล้ว ต้องเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่นำไปติดตั้งระบบสายล่อฟ้าแบบ ฟาราเดย์ และทางบริษัทยังมีบริการออกแบบ ติดตั้งระบบสายล่อฟ้าแบบ ฟาราเดย์ บำรุงรักษา และตรวจสอบระบบป้องกันฟ้าผ่าอย่างครบวงจรด้วยเครื่องมือเฉพาะทางที่ได้มาตรฐานสากล

ระบบป้องกันฟ้าผ่า มีดังนี้
1. ระบบตัวนำล่อฟ้า (Air Termination System)
วิธีการออกแบบตำแหน่งตัวนำล่อฟ้าได้แก่ วิธีมุมป้องกัน วิธีทรงกลมกลิ้ง และวิธีตาข่าย
2. ระบบตัวนำลงดิน (Down Conductor System)
ตัวนำลงดินควรมีระยะห่างเท่าๆกัน ระหว่าง 10 ถึง 20 เมตร
รูปแบบตัวนำลงดิน: กลมตัน เทปตัน และสายตีเกลียว
3. ระบบลากสายดิน (Earth Termination System)
รูปแบบระบบลากสายดิน ได้แก่ ลากสายดินแนวรัศมีและแนวดิ่ง และลากสายดินวงแหวน / ลากสายดินฐานลาก

อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า หรือ สายล่อฟ้า LPI สามารถประยุกต์ใช้ในงานออกแบบตามมาตรฐาน วสท. 2009-59, IEC 62305-3, NFPA 780 และ ITU K.112 โดยมีคุณสมบัติต่างๆ เป็นไปตามาตรฐาน IEC 62561

ระบบป้องกันฟ้าผ่า (สายล่อฟ้า) LPI แบบ Early Streamer Emission (ESE)

ระบบป้องกันฟ้าผ่าแบบ Early Streamer Emission (ESE) ถือว่าเป็นเทคโนโลยีของหัวล่อฟ้าที่สามารถสร้างกระแส Streamer ได้มากกว่าหัวล่อฟ้าแบบอื่น และอาศัยหลักการของอิมพีแดนซ์ต่ำ จึงทำให้มีรัศมีในการป้องกันฟ้าผ่ากว้างมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เสาล่อฟ้าสามารถป้องกันฟ้าผ่าเป็นรัศมีวงกว้าง และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในงานติดตั้งสายล่อฟ้าอีกด้วย เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันฟ้าผ่าแบบ ESE ต้องประยุกต์ใช้มาตรการในการป้องกันจากมาตรฐาน NFC17-102 และเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ตัวนำในส่วนต่างๆ ตามมาตรฐาน EN 50164-2 สายล่อฟ้า LPI แบบ ESE

สามารถป้องกันอันตรายที่เกิดจากฟ้าผ่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงหลักสำคัญ ทั้ง 4 คือ

1. สามารถตรวจจับประจุฟ้าผ่าให้ลงมายังจุดที่กำหนด
2. สามารถนำประจุฟ้าผ่าลงดินได้อย่างปลอดภัย
3. ระบบกราวด์ต้องกระจายประจุฟ้าผ่าได้อย่างรวดเร็ว
4. ป้องกันการเหนี่ยวนำของกระแสฟ้าผ่าที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อบุคคล, วัตถุ อุปกรณ์ไฟฟ้าข้างเคียง

หัวล่อฟ้า LPI แบบ Early Streamer Emission (ESE) ได้รับการทดสอบใน High Voltage Laboratory พร้อมทั้ง Certificate และ Test Report ตามมาตรฐาน NFC17-102 และมีคุณสมบัติตามมาตรฐาน IEC 62561-2 เพื่อความมั่นใจให้กับทางลูกค้า ทางบริษัทยินดีมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้กับทุกๆ โครงการที่ได้รับการติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าในวงเงิน 10-50 ล้านบาท

logo