ระบบป้องกันไฟกระชาก (Surge Protection System)

เมื่อเกิดเหตุการณ์ฟ้าผ่าลงโครงสร้างอาคารหรือสายตัวนำ และฟ้าผ่าลงใกล้เคียงอาคารหรือสายตัวนำ ผลของกระแสและแรงดันฟ้าผ่าจะเหนี่ยวนำเข้าสู่สายตัวนำไฟฟ้าหรือสายตัวนำสัญญาณ ทำให้มีให้มีแรงดันเกินเข้าไปยังระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้รับความเสียหาย หรือแม้กระทั่งแรงดันเกินที่เกิดจากระบบไฟฟ้า เช่น การเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร, การตัดต่อวงจรของระบบไฟฟ้า สามารถส่งผลให้อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้รับความเสียหายเช่นกัน เพื่อป้องกันความเสียหายดังกล่าวจึงต้องมีการออกแบบระบบป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ เสิร์จ และเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ (Surge Protective Device : SPD) ที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล

อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ เสิร์จ ตามมาตรฐานแบ่งเป็น 3 Class ดังนี้
SPD Class I สามารถรองรับกระแสฟ้าผ่ารูปคลื่น 10/350 µs และ 8/20 µs
SPD Class II สามารถรองรับกระแสฟ้าผ่ารูปคลื่น 8/20 µs
SPD Class III สามารถรองรับกระแสและแรงดันฟ้าผ่ารูปคลื่น 8/20 µs และ1.2/50 µs

อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ เสิร์จ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จสำหรับสายจ่ายไฟ (Power Line Surge Protective Device)
2. อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จสำหรับสายสัญญาณ (Data Line Surge Protective Device)

อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ เสิร์จ LPI สามารถประยุกต์ใช้ได้ตามมาตรฐาน วสท. IEC และ IEEE และได้รับการทดสอบตามมาตราฐาน IEC 61643 และ UL 1449 พร้อมทั้งผลการทดสอบและ Certificate รับรอง


อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกสำหรับสายจ่ายไฟ หรือ อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จสำหรับสายจ่ายไฟ (Power Line Surge Protective Device)

อุปกรณ์ช่วยลดระดับแรงดันไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าที่มีระดับพลังงานสูง เพื่อป้องกันเสิร์จสูงจากภายนอก เช่น เหตุการณ์ฟ้าผ่า การตัดต่อวงจรไฟฟ้า โดยมีรูปแบบการเชื่อมต่อแบ่งเป็นสองประเภทด้วยกัน ได้แก่ (Power Line Surge Protective Device)อุปกรณ์ช่วยลดระดับแรงดันไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าที่มีระดับพลังงานสูง เพื่อป้องกันเสิร์จสูงจากภายนอก เช่น เหตุการณ์ฟ้าผ่า การตัดต่อวงจรไฟฟ้า โดยมีรูปแบบการเชื่อมต่อแบ่งเป็นสองประเภทด้วยกัน ได้แก่
1) แบบขนาน (Shunt Protection)
• ประยุกต์ใช้อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ Class I และ II กับการป้องกันที่ตู้ควบคุมไฟฟ้า MDB และตู้ย่อย DB หรือ LP
2) แบบอนุกรม (Series Protection)
• ประยุกต์ใช้อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ Class III และ Surge Filter กับการป้องกันอุปกรณ์ที่อ่อนไหวสูง

อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกสำหรับสายสัญญาณ หรือ อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จสำหรับสายสัญญาณ (Data Line Surge Protective Device)

ใช้สำหรับป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับสายสัญญาณต่างๆเพื่อให้ไม่ได้รับความเสียหายและเกิดความปลอดภัยสูงสุด เช่น สายโทรศัพท์, PABX, CCTV, สายส่งสัญญาณ VHF, UHF, สายสัญญาณคอมพิวเตอร์, สาย LAN

logo